เทคนิคการสร้าง Background Video Effect ใน After Effect

ทุกๆ คนคงเคยดูภาพยนตร์ ซึ่งในภาพยนตร์หลายๆ เรื่องมีภาพฉากหลังที่น่าสนใจ เสมือนอยู่ดินแดน หรือโลกอีกมุมหนึ่ง เช่น ฉากท้องฟ้า ฉากอวกาศ ฉากดาวตกในตอนกลางคืน ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการทำฉากฝนดาวตก โดยใช้โปรแกรม After Effect มีวิธีการอย่างไร มาดูกันเลย

การสร้าง Background Effect ฝนดาวตก

  1. การสร้างไฟล์ และเลเยอร์
    คลิกที้เมนู Layer เลือกคำสั่ง New layer หลังจากนั้นจะเกิดหน้าต่าง Composition Settings กำหนดค่าดังนี้ครับ
    • กำหนด Preset เป็น HDTV เท่ากับ1080
    • กำหนด Width, Height เท่ากับ 1920 x 1080
    • กำหนด Pixel Aspect Ratio เป็นแบบ Square Pixels
    • กำหนด Frame Rate เท่ากับ 25
    ให้สร้าง Layer Object ที่ชื่อ Solid โดยคลิกเมนู layer เลือกคำสั่ง New และคลิกคำสั่ง Solid ทำการตั้งชื่อที่ช่อง Name จากนั้น ให้ใส่ Effects เข้าไปครับ โดยคลิกเมนู Effects เลือกคำสั่ง Simulation และคลิกเลือก CC Particle World ทำการปรับ Options ดังนี้ ยกเลิก Grid ออก คลิกปรับระยะที่ Birth Rate เป็น 2.5 และ Longevity เป็น 2.70 และปรับค่าที่ Producer
    • กำหนด Radius X เท่ากับ 1.150
    • กำหนด Radius Y เท่ากับ 0.030
    • กำหนด Radius Z เท่ากับ 1.075
    ที่ Physics ปรับค่าดังนี้ครับ
    • กำหนด Velocity เท่ากับ 3.45
    • กำหนด Gravity เท่ากับ 1.150
    • กำหนด Resistance เท่ากับ 50
    ที่ Particle Type เลือกเป็น Faded Sphere ปรับค่าตามที่ได้กำหนด และใส่สีสันตามโทนที่เราต้องการได้ ในที่นี้เราจะกำหนดเป็นสีฟ้าเข้ม กับสีฟ้าโทนอ่อน ที่ Depth Cue กำหนด Type เป็น Fade และตั้งค่า Distance เท่ากับ 2.50 ตัวเลขเหล่านี้สามารถปรับได้เพิ่มเติมตามความเหมาะสมครับ เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วเราจะได้ Background Video ที่เป็นลักษณะ คล้ายกลุ่มสะเก็ดดาว
  2. ตั้งค่ามุมกล้อง และการเคลื่อนไหว ขั้นตอนนี้จะทำให้ Background Video Effect เคลื่อนไหวได้ครับ
    ทำการสร้าง Layer ใหม่ เพิ่มเติมครับ เลือกรูปแบบเป็น Camera โดยคลิกที่เมนู Layer เลือกคำสั่ง New และคลิกเลือก Camera
    • กำหนดค่า ที่ Preset เท่ากับ 35 mm
    • กำหนดค่า ที่ Zoom เท่ากับ 658.52 mm
    • กำหนดค่า ที่ Angle of View เท่ากับ 54.43 องศา
    สำหรับการทำ Background Video Effect ให้เคลื่อนไหว มี 2 แบบ คือ ดังนี้ครับ
    1. การสร้างมุมกล้อง แล้วทำให้กล้อง เคลื่อนไหว
    2. การทำให้วัตถุที่เราสร้าง เคลื่อนไหวเอง ในขั้นตอนนี้เราจะใช้ทั้งสองแบบ มาดูวิธีการทำกันนะครับ
    คลิกที่ Camera จากนั้น
    • ใช้เครื่องมือ Track XY Camera Tool : ซูมเข้า สลับการเลื่อน เวลาที่ Timeline
    • ใช้เครื่องมือ Track XY Camera Tool : ซูมออก สลับการเลื่อน เวลาที่ Timeline
    จนได้ช่วงระยะเวลาที่ต้องการ และทดสอบผลลัพธ์ที่สร้างขึ้น
  3. การกำหนด Background และกำหนดโทนสี
    ทำการสร้าง BG Background โดยคลิกเมนู Layer เลือกคำสั่ง new และคลิกเลือก solid ตั้งชื่อ Bg_Background และคลิกปุ่ม ok จากนั้นใส่สี ดังนี้ครับ
    • สีแรก ใส่รหัสสี Red เท่ากับ 16 Green เท่ากับ 36 Blue เท่ากับ 81
    • สีที่สอง รหัสสี Red เท่ากับ 10 Green เท่ากับ 13 Blue เท่ากับ 38
    • สีที่สาม รหัสสี Red เท่ากับ 12 Green เท่ากับ 12 Blue เท่ากับ 12
    • สีที่สี่ รหัสสี Red เท่ากับ 0 Green เท่ากับ 0 Blue เท่ากับ 0
    ซึ่งจะได้เป็นการไล่เฉดสี จากสีน้ำเงิน ไล่ไปหาสีดำ หลังจากนั้นทำสำเนาเลเยอร์ Background เพิ่มเป็นอีก 1 เลเยอร์ แล้วเปลี่ยนชื่อไม่ให้ซ้ำกัน จากนั้นก็นำ เลเยอร์ Background อันแรก มาใส่ effect โดยใช้ Effects ชื่อ CC Rays Light และทำการกำหนดรัศมีของแสง ไล่ไปตาม Timeline โดยกำหนดตำแหน่งของการแสดงผลหรือ key frame แล้วตั้งค่า Radius เริ่มตั้งแต่ 40 ไปจนถึง 2,000 เราสามารถตั้งค่าช่วงเวลาการนำเสนอและตัวเลขรัศมีได้ตามความเหมาะสม เมื่อกำหนดค่าต่างๆ เรียบร้อย ลองทดสอบการแสดงผล

เป็นอย่างไรบ้างครับ เทคนิควิธีการการสร้างเทคนิคพิเศษแบบฝนดาวตก ลองนำไปใช้เป็นฉากหลังในการตัดต่อนำเสนองานต่าง ๆ ดูนะครับ ครั้งหน้าเราจะมีเทคนิคอะไรมาฝากคอยติดตามกันนะคับ สวัสดีครับ


โปรแกรมรับรองทักษะที่เกี่ยวข้อง

Click

Previous Postเทคนิคขั้นเทพสำหรับจัดการข้อมูลซ้ำๆ ใน Microsoft Excel
Next Postสร้างพื้นหลังตัวอักษรด้วยวิดีโอ ใน Microsoft PowerPoint