เปิดโลก Packaging Design ศัพท์เด็ดที่นักออกแบบมือใหม่ควรรู้!

อยากออกแบบ Packaging สวยๆ แต่แค่มีดีไซน์ในใจอาจยังไม่จบ เพราะเจอศัพท์เทคนิคเข้าไปแต่ละทีก็มึนตึ๊บไปหมด บอกลาความกังวลไปได้เลย บทความนี้จะพาคุณไปตะลุยศัพท์ที่ควรรู้ในวงการบรรจุภัณฑ์ เตรียมพร้อมไว้ก่อนเข้าสู่เส้นทางสายออกแบบ

Dieline

แผนผังลับแห่งการสร้างกล่อง

นึกภาพไม่ออกใช่ไหมว่ากล่องสวยๆ ที่เราเห็นกันนั้น ก่อนที่จะออกมาสมบูรณ์มันหน้าตาเป็นมายังไง Dieline นี่แหละคือคำตอบ! มันคือแปลนของกล่อง 3D ที่เขียนขึ้นมาให้อยู่ในรูปแบบ 2 มิติ แปลงร่างแบบที่เราดีไซน์ไว้ให้อยู่ตามตำแหน่งต่างๆ ซึ่งเจ้าดีไลน์นี้จะช่วยให้ทั้งดีไซเนอร์และโรงพิมพ์ สามารถวางเลเยอร์ จัดตำแหน่งงานพิมพ์ได้เป๊ะปัง! หรือเรียกว่าพูดกันรู้เรื่องนั่นเอง และนอกจากจะเชื่อมการทำงานระหว่างคนกับคนได้แล้ว ดีไลน์ก็ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องจักร หรือเครื่องพิมพ์ ตัด หั่น พับ แปะ สารพัดสิ่งตามที่เราออกไว้ ออกมาได้ตรงตามที่ต้องการด้วย

Spot Color vs Process Color

สีเดียวโดนใจ

สี Spot คือสีเฉดเดียวที่ทำขึ้นมาโดยใช้หมึกเฉพาะที่ผ่านการผสมมาเรียบร้อยแล้ว ส่วนมากมักจะอ้างอิงจากสีของระบบ Pantone Matching System (PMS) หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า Pantone นั่นเอง แต่ละสีจะมีหมายเลขและชื่อเฉพาะเป็นของตัวเอง เพื่อให้นักออกแบบ และเครื่องพิมพ์ทั่วโลกเข้าใจและระบุสีได้ตรงกัน ข้อดีของการใช้ Spot Color ก็คือ สีที่ได้จะมีความสม่ำเสมอ ควบคุมได้ง่าย ลดต้นทุนการผลิต และช่วยให้ดูเรียบหรู เป็นเอกลักษณ์ได้

CMYK vs. RGB

สีจอมเท่ VS. แสงจอเจ๋ง

CMYK ย่อมาจาก Cyan, Magenta, Yellow และ Key Black เป็นหมึก 4 สีหลักในวงการพิมพ์ ส่วน RGB คือ Red, Green, Blue เป็นแสงสีที่อยู่บนจอคอมพิวเตอร์ สองระบบนี้ต่างกันตรงที่หลักการทำงานของ CMYK จะเป็นเหมือนม่านกันแสง ซ้อนสีทับกันไปเรื่อยๆ สีที่ได้จะมีความทึบ ส่วน RGB จะเป็นเหมือนไฟหลากสี ที่เมื่อนำมาส่องผสมกัน ก็จะเกิดเป็นสีใหม่ๆ ที่สดและสว่างกว่า สวยคนละแบบ เหมาะกับการใช้งานคนละอย่าง

Primary vs. Secondary Packaging

คู่หูดูโอ้แห่งบรรจุภัณฑ์

  • บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (Primary Packaging)
    เป็นชั้นที่สัมผัสกับตัวสินค้าโดยตรง ออกแบบมาเพื่อป้องกันสินค้าระหว่างการจัดเก็บ เช่น พลาสติกห่อหุ้ม, กล่องฝาปิด (Clamshell), แผงพลาสติก (Blister Pack) เป็นเหมือนเสื้อผ้าที่อยู่ข้างใน มองจากข้างนอกอาจจะไม่เห็น แต่มีประโยชน์
  • บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก (Secondary Packaging)
    ไม่สัมผัสกับสินค้าโดยตรง ใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาด เสริมแบรนด์และภาพลักษณ์ ใช้สำหรับขนส่งและจัดเก็บ เช่น กล่องกระดาษ, ถุงกระดาษ, ซองกระดาษ เป็นเหมือนเสื้อคลุมสวยๆ ที่สวมทับอีกชั้น เพื่อเสริมแบรนด์ ช่วยดึงดูดควมสนใจ

Foil, Emboss, Deboss

ลวดลายมีมิติ สัมผัสหรูหรา

ถ้าอยากให้กล่องมีลูกเล่นขึ้นไปอีก ต้องรู้จักเทคนิคเหล่านี้เอาไว้

  • ฟอยล์ (Foil)
    คือ การประทับฟอยล์โลหะลงไป เพื่อสร้างลวดลายให้มีความแวววาว
  • เอมโบส์ (Emboss) & ดีโบส์ (Deboss)
    คือ การปั๊มนูน และ ปั๊มจม ให้บรจุภัณฑ์ หรืองานพิมพ์มีความน่าสนใจ มีลูกเล่นที่มีมิติมากยิ่งขึ้น เพิ่มมูลค่าและความหรูหราได้ดี

Caliper/Flute

ความหนา...สำคัญนะ!:

Caliper คือ ความหนาของกระดาษ ส่วน Flute คือ ความหนาของคลื่นกระดาษในกล่องลูกฟูก ยิ่งหนายิ่งแข็งแรง เหมาะกับน้ำหนักและความเปราะบางของสินค้า


Unbox Your Potential, Unbox Your Success!

บทความนี้รวบรวมคำศัพท์เบื้องต้นไว้ให้แล้ว พร้อมปลุกไฟนักออกแบบในตัวคุณรึยัง! อย่ารอช้า เรียนรู้ต่อยอด ฝึกฝีมือ แล้วไป Unbox กล่องสุดปังของตัวเองกัน!

หลักสูตร Unbox Packaging Design จะพาคุณปูพื้นฐานการออกแบบ ตั้งแต่การวางคอนเซ็ปต์ เรียนรู้ดีไซน์ การใช้เทคนิคการออกแบบ ไปจนถึงการนำเสนอผลงานออกมาให้อยู่ในรูปแบบที่โชว์ให้ใครดู ก็เข้าใจได้เลย

ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการออกแบบมาก่อนก็สามารถเริ่มเรียนได้ เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจมือใหม่ที่อยากออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าด้วยตัวเอง ผู้ที่มีพื้นฐานการออกแบบอยู่แล้วแต่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Packaging Design หรือผู้ที่ต้องการสร้างรายได้จากงานกราฟิก

Previous Postชวนสายมู อัปสกิลให้ปังตามวันเกิด
Next Postคลังคำศัพท์ Digital Marketing ที่ควรรู้ก่อนสอบ Meta Certified (Facebook)